ประวัติความเป็นมาของกีตาร์
กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องสาย ซึ่งเป็นการยากมากสำหรับการที่จะสืบค้นให้แน่ชัดว่าเริ่มมาจากที่ใด จะเด่นชัดที่สุดก็คงจะเริ่มตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 15 ที่ได้เกิดเครื่องสายกลุ่มหนึ่ง คือ ไวโอลวิเวล่า และลูท ซึ่งวิเวล่านี้ยังแยกออกเป็น 3 แบบ คือ
1. วิเวล่า เดอ อาร์โด (VIHVELA DE ARCO) การเล่นใช้คันสีคล้ายไวโอลินในปัจจุบัน
2. วิเวล่า เดอ เพนโญล่า (VIHVELA DE PENOLA) มีลักษณะการเล่นด้วยวิธีเอาแผ่นไม้บาง ๆ ดีดลงไปบนสายคล้ายกับการใช้ปิ๊ค PICK ในปัจจุบัน
3. วิเวล่า เดอ มาโน (VIHVELA DE MANO) การเล่นใช้นิ้วเกี่ยวหรือดีดลงบนสาย
วิเวล่าถือกำเนิดในประเทศสเปน มีลำตัวคล้ายกีตาร์ในปัจจุบัน แต่มีขนาดเล็กกว่า เฟร็ทที่คอใช้เอ็นรัดไว้รอบคอ ในช่วงต้นนั้น วิเวล่าในแบบที่ใช้คันสีและใช้แผ่นไม้ดีดนั้นจะได้รับความนิยมมากกว่าในแบบที่ใช้นิ้ว แต่ครั้นย่างเข้าสู่ศตวรรษที่ 16 วิเวล่า เดอ มาโน ก็กลับมาเป็นที่นิยมของนักดนตรีทั้งในประเทศสเปนและในอิตาลี โดยมากจะใช้เล่นประกอบกับการร้องเพลง
หลังจากนั้นกีตาร์ก็ได้กำเนิดขึ้นมา ในช่วงต้น ๆ นั้น กีตาร์มีขนาดเล็กกว่า วิเวล่าที่มีสายอยู่ 6 ชุด (2 สายเท่ากับ 1 ชุด) และจุดเด่นที่แตกต่างจากวิเวล่าอย่างเห็นได้ชัดคือ จะมีสายอยู่ 4 ชุด และด้านหลังจะโค้งมนคล้ายหลังเต่า (จากหลักฐานพบคือ กีตาร์ 4 สาย ของจิโอวานนิ สมิท (GIOVENNI SMIT) แห่งมิลาน ปีค.ศ. 1646) ต่อมาประเทศสเปนได้ทำกีตาร์สาย 5 ชุดขึ้น ให้ชื่อว่า "กีตาร์แห่งสเปน" ซึ่งทำให้บรรดานักดนตรีเริ่มให้ความสนใจในเครื่องดนตรีชนิดนี้กันอย่างจริงจัง
ในช่วงตั้งแต่ศตวรรษที่ 15-16 นับว่าเป็นยุคทองของดนตรีในประเทศสเปน เพราะได้เกิดกวีและนักประพันธ์ขึ้นมากมาย และยังได้เกิดสมุดเพลงเล่มแรกขึ้น โดยบันทึกในรูปแบบ "เทบเลเจอร์" (TABLATURE) โดยหลุยส์มิลาน ในปี ค.ศ. 1536 ชื่อว่า ลิบรอ วิเวล่า เดอ มาโน (LIBRO DE VIHVELA DE MANO)
จากนั้นกีตาร์ก็ถูกพัฒนาขึ้นอย่างจริงจังในประเทศอิตาลี ทำให้บรรดานักดนตรีในประเทศข้างเคียงและแม้แต่ต้นตำหรับอย่างประเทศสเปน ก็พลอยได้รับผลประโยชน์ในการศึกษาพัฒนาในครั้งนั้นด้วย จนกระทั่งช่วงปลายศตวรรษที่ 18 กีตาร์ก็ได้ถูกเปลี่ยนจากสาย 4-5 ชุด มาเป็นสายเดี่ยว 6 เส้น จนมาถึงทุกวันนี้
พอย่างเข้าศตวรรษที่ 19 ได้ปรากฎคีตกวีทางกีตาร์ ที่ได้ถูกยกย่องมาจนถึงทุกวันนี้ คือ เฟอร์นานโดซอร์ (FENANDO SOR) และมาโร จูเลียนี่ (MAURO GIULIANI) เขาทั้งสองได้ประพันธ์เพลงสำหรับกีตาร์โดยเฉพาะ ซึ่งเพลงเหล่านั้นมีลูกเล่นแพรวพราว และให้เสียงที่กว้างขึ้น ทั้งยังเล่นได้โดยไม่ยากลำบาก จึงทำให้เกิดบทเพลงที่มีโครงสร้างอิสระ ซึ่งการประพันธ์ของซอร์ และจูเลียนั้น จัดอยู่ในมาตรฐานคล้ายรูปแบบการประพันธ์เพลงของคีตกวีเอกของโลก 2 ท่าน คือ ไฮเดิ่น (HAYDN) และโมซาร์ท (MOZART) จึงทำให้เพลงของเขาทั้งสองได้ถูกจัดอยู่ในการแสดงคอนเสิร์ตอยู่บ่อยครั้งในปัจจุบัน เพลงเหล่านั้นยังมีส่วนอย่างสูงที่ทำให้กีตาร์ได้รับการพัฒนาสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นเขายังได้ประพันธ์แบบฝึกหัด ซึ่งในปัจจุบันนี้ยังถือเอาเป็นมาตรฐานในการฝึกหัด ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ
จนมาถึงศตวรรษที่ 20 กีตาร์ก็ได้รับความนิยมและสนใจอย่างแพร่หลาย เมื่อฟรานซิสโก คาร์เรก้า ได้นำบทเพลงของโชแปง (CHOPIN) เบโธเฟ่น (BEETHOVEN) ชูมานน์ (SHUMANN) และคนอื่น ๆ มาดัดแปลงให้สามารถเล่นกับกีตาร์ได้อย่างสมบูรณ์ ไม่แพ้เปียโนหรือเครื่องดนตรีชนิดอื่นเลย
แล้วโลกก็ต้องตื่นตะลึงอีกครั้ง เมื่อในปี ค.ศ. 1929 ไฮเทอร์ วีญา-โลโบส (HEITOR VILLA-LOBOS) ได้พลิกโฉมหน้าการเล่นกีตาร์โดยสิ้นเชิง โดยการเล่นด้วยวิธีเคลื่อนรูปคอร์ด ขึ้น-ลงบนฟิงเกอร์บอร์ด รวมทั้งการเล่นสาย เปิด-ปิดในขณะเดียวกัน นอกจากนั้นยังมีรูปแบบการเล่นอาร์เพกจิโอ (ARPEGGIO) ด้วย ถึงแม้ว่ารูปการประพันธ์ของวีญา-โลโบส นั้นจะดูง่ายในวิธีการปฏิบัติ แต่ผลที่ได้รับนั้นมากมายเหลือคณานับ
จากวิวัฒนาการตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 การเวลาได้หล่อหลอมให้กีตาร์เกิดความหลากหลายในการเล่นของตัวมันเอง จนเป็นที่ยอมรับของคนส่วนมาก เมื่อประเทศทางแถบตะวันตกและอเมริกาใต้ได้เริ่มใช้กีตาร์ประกอบในเพลงเต้นรำ ความคิดหลายอย่างและเทคนิคต่าง ๆ ก็ได้ถูกนำมาใช้ โดยเลียนแบบการเล่นแบนโจของพวกนิโกร และในขณะเดียวกันนักดนตรีส่วนมากเริ่มค้นพบว่า กีตาร์สามารถเข้ากับเพลงในแบบของเขาได้ดีกว่าแบนโจ
และในการตื่นตัวของยุคที่กล่าวนั้น มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้นกับกีตาร์คือ กีตาร์ได้เปลี่ยนจากสายเอ็น (GUT STRING) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของสายไนล่อน (NYLON STRING) ในปัจจุบันมาเป็นสายเหล็ก (STEEL STRING)
ในขณะเดียวกัน กีตาร์ก็เข้าไปแพร่หลายอยู่ในฮาวายด้วย ที่ฮาวายนี้เอง บรรดานักดนตรีท้องถิ่นหลาย ๆ คนได้คิดค้นและสร้างกีตาร์ขึ้นมาอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นแบบฉบับของพวกเขาอย่างแท้จริง แม้ว่ามันเป็นกีตาร์เหมือนกัน แต่สไตล์การเล่นของกีตาร์ฮาวาย (HAWIIAN GUITAR) นั้นแตกต่างไปจากกีตาร์ธรรมดามาก
คือแทนที่จะกดสายลงไปทาบกับเฟร็ต นักดนตรีฮาวายกลับใช้ชิ้นไม้หรือชิ้นโลหะสอดเข้าไปกั้นกลางที่ตรงระหว่างสายกีตาร์กับฟิงเกอร์บอร์ด วัตถุที่สอดเข้าไปคั่นไว้นี้สามารถเลื่อนขึ้น-ลงไปตามคอกีตาร์ได้ ซึ่งการทำแบบนี้กีตาร์จะให้เสียงใสกว่าธรรมดา
ตามลักษณะที่ว่านี้ สายกีตาร์จะอยู่สูงขึ้นมาจากฟิงเกอร์บอร์ดมาก จนไม่สามารถใช้สไตล์การเล่นแบบกีตาร์ธรรมดาได้เลย นักดนตรีฮาวายที่สร้างมันขึ้นมา ตั้งใจเพียงจะใช้เสียงกีตาร์แบบนี้เล่นทำนองเพลงโฟล์คฮาวายแบบง่าย ๆ ที่นิยมกันในยุคนั้น
เพลงโฟล์คแบบฮาวายเริ่มกระจายความนิยมมาสู่แผ่นดินใหญ่เมื่อต้นทศวรรษที่ 20 นักดนตรีนิโกรหลายคนติดในเสียงโหยหวนของกีตาร์ฮาวาย เพราะเขาคิดว่ามันคงจะเล่นโน๊ตเพลงบลูส์ (BLUES) ได้สะใจกว่ากีตาร์ธรรมดาแน่ ๆ และเพราะเหตุที่กีตาร์ฮาวายแท้ ๆ ยังไม่มีผู้ใดทำออกจำหน่าย นักดนตรีนิโกรเหล่านั้นจึงต่างคิดค้นแนวทางของตัวเองขึ้นมาโดยใช้ใบมีด, เศษส่วนของเครื่องยนต์หรือขวดเปล่า ๆ สอดเข้าไปคั่นอยู่ระหว่างสายกีตาร์และฟิงเกอร์บอร์ดของกีตาร์ธรรมดา บางคนมีความคิดที่หลักแหลมกว่านั้น คือ ตัดคอขวดแล้วสวมเข้ากับนิ้วข้างซ้าย ซึ่งการทำเช่นนั้นพวกเขาสามารถจะเล่นเสียงแบบกีตาร์ฮาวายได้ และยังเล่นคอร์ดในแบบกีตาร์ธรรมดาได้อีกด้วย
ในปี 1925 กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมที่สุดในวงการเพลงโฟล์คของอเมริกา นักร้องนักกีตาร์ของยุคนั้น เช่น BLIND IEMON JEFFERSON และ JIMMY RODGERS ได้ช่วยดลใจผู้คนหลายล้านคนให้หันมาเล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้
เพลงป๊อปในยุคนั้นยังคงยึดเอาเปียโนเป็นหลัก แต่ในวงแจ๊สได้เริ่มนำเอากีตาร์เข้าไปเล่นแทนแบนโจแล้ว ซึ่งต่อมาวงแจ๊สเหล่านี้ช่วยดลใจให้เพลงป๊อปก้าวหน้าไปมากในระยะ 1920-1930 เพลงป๊อปแบบใหม่ถูกวางโครงร่างขึ้นมา โดยบรรดานักดนตรีชนบททางใต้ และเป็นเพราะกีตาร์นั่นเองที่เป็นส่วนสำคัญมากในการสร้างเพลงป๊อปของยุคปัจจุบันขึ้น นักดนตรีผิวขาวและผิวดำในยุคนั้นต่างลอกเลียนแบบซึ่งกันและกัน และสไตล์ผสมนี้เองที่ได้ก่อให้เกิดเพลงแบบร็อคแอนโรลล์ (ROCK AND ROLL) ขึ้นมา
มีการปรับปรุงกีตาร์แบบต่าง ๆ ขึ้นอีกในระหว่างปี 1920-1930 กีตาร์ 12 สายจากเม็กซิโกเริ่มมีเข้ามาแพร่หลายในอเมริกา ผู้สร้างบางคนพยายามสร้างมันให้ใหญ่โต เพื่อให้ได้เสียงดังกว่าธรรมดา กีตาร์โดโบร (DOBRO) เป็นอีกแบบหนึ่งที่เริ่มได้รับความนิยม ปกติมันถูกสร้างขึ้นด้วยโลหะและให้เสียงดังกังวานกว่ากีตาร์ธรรมดา
กีตาร์แบบแรกที่ถูกนำมาดัดแปลงนี้เป็นกีตาร์ไฟฟ้า คือ กีตาร์ฮาวาย เครื่องขยายเสียงในยุคแรกมีรูปร่างเล็ก ๆ ไม่ใหญ่ไปกว่าเครื่องรับวิทยุธรรมดา แต่มันก็ให้เสียงดังก้อง เป็นคู่แข่งของแซ็กโซโฟน ซึ่งนับว่า "ดัง" มากในยุคนั้น
วงดนตรีแบบคันทรีเป็นวงดนตรีประเภทแรกที่นำกีตาร์ไฟฟ้าแบบธรรมดามาใช้กับวงดนตรี และเริ่มได้รับความนิยมมาก
MILTON BROWN & THE MUSICAL BROWNIES เป็นวงดนตรีคณะแรกที่ใช้กีตาร์ไฟฟ้าอัดแผ่นเสียงเมื่อปี 1934
พวกเขาใช้กีตาร์ไฟฟ้าแบบฮาวายเช่นเดียวกับ Leon McAuliffe ซึ่งได้อัดเพลง Steel Guitar Rag และได้รับความนิยมทั่วประเทศในปี 1936 ในปี 1938 เครื่องขยายเสียงกับกีตาร์เริ่มเป็นของคู่กันและได้รับความนิยมในการใช้มากขึ้น นักดนตรีแจ๊สสามารถโซโล่โน๊ตกีตาร์ได้กึกก้องกว่าเครื่องแตร ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าภูมิใจสำหรับพวกเขามาก เมื่อรู้ว่าตัวเองสามารถเล่น "ดัง" ไม่น้อยหน้าใคร ผิดกับในยุคก่อนที่พวกเขาได้แต่เล่นคอร์ดและมักจะถูกกลบเสียงโดยเครื่องแตรเสียหมด George Barnes, Charlie Christian และ Les Paul ได้สร้างความนิยมในสไตล์การเล่นกีตาร์แบบแจ๊สไว้มาก
นักดนตรีบลูส์นิโกรไม่ค่อยใช้กีตาร์ไฟฟ้า ถ้าพูดกันตรง ๆ ก็คือไม่มีเงินซื้อนั่นเอง พวกเขาไม่นิยมเล่นกีตาร์ไฟฟ้าด้วย เหตุว่ามันแพงกว่ากีตาร์ธรรมดา แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ไปแล้ว มีนักกีตาร์บลูส์นิโกรหลายคนที่มีความสามารถใช้กีตาร์ไฟฟ้าไดดี อย่างเช่น Muddy Waters, Lightin' Hopkins และ John Lee Hooker
ระหว่างปี 1930-1940 มีการปรับปรุงเครื่องขยายเสียงให้ใช้กับกีตาร์ได้ดีขึ้น และมาได้รับความสำเร็จอย่างจริงในช่วงทศวรรษ 50 ที่เป็นยุคของเครื่องขยายที่ช่วยให้กีตาร์ดังกว่าแซ็กโซโฟน ดังกว่าวงดนตรีทั้งวง หรือดังเท่าใดก็ได้ตามใจปรารถนา
ในขณะเดียวกัน ก็ได้มีบริษัทสร้างกีตาร์ชั้นดีขึ้น คือ Fender ที่นักกีตาร์ทุกคนรู้จักดี บริษัทสร้างกีตาร์ในแคลิฟอร์เนียแห่งนี้ เป็นบริษัทแรกที่สร้างกีตาร์เบสไฟฟ้าขึ้น และมีหลายคนที่ยังคงเรียกกีตาร์เบสจนติดปากว่า เฟ็นเดอร์เบส (Fender Bass) แม้ว่าปัจจุบันได้มีบริษัทที่สร้างกีตาร์สร้างเลียนแบบขึ้นมาอีกมากมาย
นักดนตรีคันทรีแอนท์เวสเทอร์น เป็นพวกแรกที่ดัดแปลงกีตาร์ฮาวายมาเป็นพีดัลสตีลกีตาร์ (Pedal Steel Guitar) ซึ่งเป็นสตีลกีตาร์แบบใหม่ที่มีเสียงเป็นของตัวเอง โดยเฉพาะเสียงกีตาร์แบบนี้
แต่ก่อนนั้นกีตาร์กับเพลงร็อค ยังดูไม่เข้ากันนัก จนย่างเข้ามาในระยะ 1954-1955 Chuck Berry, Bo Diddley, B.B.King และ Muddy Waters ได้ใช้เป็นอาวุธสำคัญในการบุกเบิกหนทางของเพลงร็อคกลมกลืนกันที่สุด แต่ถ้าเอาหลักฐานกันจริง ๆ จะพบว่านักดนตรีแบบคันทรี่ก็ได้ใช้กีตาร์เป็นหลักของเพลงมานานแล้ว
ในช่วงปี 1958 การเล่นลีดกีตาร์ (Lead Guitar) แบบไฟฟ้าเป็นจุดเด่นอีกแบบหนึ่งของเพลงร็อคที่ขาดไม่ได้ นักกีตาร์ฝีมือดีในวงการเพลงคันทรี่ถูกว่าจ้างมาเล่นกีตาร์ประกอบเพลงร็อคหลายคน และบางคนก็มีผลงานที่ดีเด่นอย่างแท้จริง อย่างเช่น James Burton ซึ่งเล่นกีตาร์ในเพลงฮิตหลายเพลงของ Rick Nelson เมื่อครั้งที่ Rick ยังอัดแผ่นเสียงกับ Imperial Records
Barney Kessel นักกีตาร์แจ๊สชื่อดังก็เคยได้รับว่าจ้างให้เล่นดนตรีประกอบเพลงร็อคอยู่หลายร้อยเพลงในช่วงทศวรรษที่ 50
ปี 1958 วงดนตรีประเภทร้องเอง เล่นเอง ยังไม่ได้เริ่มต้นขึ้นเลย ดาราร็อคชื่อดังอย่าง Gene Vincent ยังคงใช้วงดนตรีประเภทคอมโบ้ ประกอบการแสดงอยู่เช่นเดิม ระยะนี้เองที่บริษัท Fender ได้เริ่มสร้างเครื่องขยายให้ใหญ่ขึ้น จนถึงกับต้องเอาไมค์ไปตั้งไว้หน้ากลอง ไม่งั้นจะถูกกีตาร์กลบเสียงเสียหมด และบรรดานักร้องต่างก็เริ่มร้องกันแบบสุดชีวิต เพื่อพยุงเสียงตัวเองไม่ให้สำลักเสียงกีตาร์
วงประเภทกรุ๊ป (Group) ซึ่งร้องเองเล่นเอง เริ่มโผล่โฉมหน้าออกมาตั้งแต่ปี 1959 โดยเฉพาะทางแถบเวสท์โคสท์ (West Coast) พวกเด็กหนุ่มที่เคยหลงใหล Elvis เมื่อปี 1956 เริ่มเล่นกีตาร์ในแบบของตัวเองได้ดี และตั้งคณะดนตรีกันขึ้นมา ก่อนที่ The Beatles จะได้รับความนิยมก็มีนักดนตรีหนุ่มหลายคนที่สร้างสรรดัดแปลงเพลงคันทรี่แบบเก่ามาเป็นสไตล์แบบร็อค พวกวงดนตรีประเภทเซอร์ฟ (Surf Band) ในแคลิฟอร์เนีย เป็นที่นิยมกันมากตอนต้นปี 1960 คณะดนตรีแบบนี้มักจะมีกีตาร์ 2 ตัว และเบสไฟฟ้า ซึ่งเป็นของเฟ็นเดอร์เกือบทั้งนั้น
ถ้าคุณเป็นนักดนตรี และเผอิญต้องออกแสดงในสถานที่เต้นรำใหญ่ ๆ คุณจำเป็นต้องใช้เครื่องขยายขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่จะหาได้ คณะที่ใช้เครื่องขยายที่มีขนาดใหญ่ในยุคนั้นคือ The Beatles (วงสุดปรื้มของผู้เขียนเอง) ซึ่งต้องเล่นดนตรีแข่งกับเสียงกรีดร้องของแฟนเพลงที่ดังสุดประมาณบริษัทว๊อค (Vox) ของอังกฤษ จึงสร้างเครื่องขยายขนาดใหญ่กว่าของเฟ็นเดอร์ และ The Beatles ได้ใช้แอมป์ของว๊อคเล่นประจำ
นับเป็นการเชือดเฉือนกันอย่างเลือดเย็นทางธุรกิจ เพราะคณะอเมริกันเริ่มหันมาสนใจ และต้องการเครื่องขยายของว๊อคมากยิ่งกว่าเฟ็นเดอร์ บริษัทเฟ็นเดอร์จึมุ่งมั่นปรับปรุงสร้างขนาดใหญ่ขึ้นมาบ้าง มันเลยกลายเป็นสงครามเครื่องขยายเสียงที่มีนักดนตรีและกีตาร์มาร่วมรบด้วย
ปัจจุบันสงครามเครื่องขยายเสียงแทบจะขึ้นมาถึงจุดสุดยอดแล้ว เพราะมีบริษัทสร้างเครื่องขยายชั้นดีเกิดขึ้นมามากมายจนนับไม่ถ้วน เมื่อต่อกีตาร์เข้ากับเครื่องขยายยุคใหม่นี้แล้ว คุณแทบไม่ต้องตั้งใจฟังก็ได้ยินเสียงกีตาร์ เพราะมันดังกึกก้องอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนเลยในประวัติศาสตร์ อาจเป็นไปได้ว่าผู้คนส่วนมากชื่นชอบความเจ็บปวด และยอมทนทรมานหูกับเสียงของเครื่องขยายยุคใหม่ เพราะมันเป็นความสุขและรสนิยมอีกแบบหนึ่งที่ไม่ซ้ำกับใคร
Guitar Clip คลิปการเล่นกีตาร์แบบเทพๆ
พื้นฐานการฝึก Guitar
สิ่งที่คุณควรมีในการเล่นกีตาร์
Guitar ส่วนตัวจะเป็นแบบ Electric or Acoustic ก็ได้ ตามแต่สไตร์
Pick สำหรับดีดกีตาร์
Metronome [ สามารถ Download ได้ที่ด้านล่างของหน้าเว็บนี้ ]
Amplifiers (สำหรับคนที่ใช้กีตาร์ไฟฟ้า)
แสตนด์วาง Note
แจ็คกีตาร์ สายกีตาร์ เอฟเฟ็ค ฯลฯ (ตามแต่ความสามารถ)
หัวใจที่รักในการเล่นกีตาร์และดนตรี กับ มืออีกสองข้างของคุณ. [ข้อนี้สำคัญที่สุด]
การเริ่มต้นฝึกกีตาร์ที่ดี
ควรฝึกกีตาร์กับเครื่องเคาะจังหวะทุกครั้ง (เครื่อง Metronome)
ควรฝึกจากการเล่นที่ Tempo ช้าๆ ก่อน เมื่อคล่องแล้วจึงเร่งความเร็วของ Tempo ขึ้นเรื่อย ๆ
ควรฝึกให้ได้ทุกวัน อย่าขาด ถ้าอยากเก่ง
ควรมีการ warm นิ้วก่อนการฝึกทุกครั้ง โดยใช้การเล่นแบบโครมาติกส์
ควรให้ความสำคัญกับเสียงที่เราดีดออกมาด้วย ว่ามีความต่อเนื่องของเสียง และน้ำหนักการดีดดีไหม
วิชาที่นักกีตาร์ควรรู้
1.Reading วิชาว่าด้วยการอ่านโน้ต
2.Theory วิชาทฤษฎีดนตรี
3.Rhythm Guitar วิชาการเล่นริทึ่ม
4.Solo Guitar วิชาว่าด้วยการเล่นเดี่ยวกีตาร์
5.Ear Training วิชาว่าด้วยการฝึกหู
เนื้อเพลง รักคุณเข้าอีกแล้ว - บอย โกสิยพงษ์ feat. ป๊อด โมเดิร์นด๊อก
เก็บเพลงรักนี้ ไว้ให้เธอ เมื่อวันใดที่เจอะเจอ ฉันก็พร้อมและยินยอมมอบความรัก และจิตใจ ชั่วนิรันดร์ (ชั่วนิรันดร์) มีเพลงเพลงนึงที่เคยร้องให้เธอฟัง แต่ไม่รู้ว่ายังจำได้หรือเปล่า วันและเวลาอาจจะหมุนและเวียนไป แต่ใจความในเพลงนั้นของเรา * ก็ยังคงเฝ้าย้ำพูดถึง ความรักที่ลึกซึ้ง และยังคงตรึงในหัวใจนานแค่ใหน ก็เหมือนเก่า เหมือนวันแรกที่เรา เจอะกัน ** เก็บเพลงรักนี้ให้เป็นของขวัญ ให้เธอได้รับได้รู้หัวใจของฉัน แม้คืนวันจะเปลี่ยนแปลงสักแค่ไหน แต่ใจของฉันที่รักเธอนั้น ต่อให้ต้องลงนรกหรือขึ้นสรวงสวรรค์ ฉันก็จะไม่มีวันมอบให้ใคร จะมีเพียงเธอแค่เพียงคนเดียว และจะมีแต่เธอ เธอแค่เพียงคนเดียว และจะเป็นเพียงคนเดียวเสมอไป ที่ฉันฝากชีวิต ทั้งหมดไว้ โดยไม่มีวันทวงกลับคืน กาลและเวลาที่เปลี่ยนหมุนและเวียนไป อาจจะทำให้หัวใจใครหมุนตาม แต่ไม่ว่าเวลาจะเปลี่ยนหมุนไปยังไง ใจความในเพลงนั้นของเรา (*,**) ฉันขอใช้ช่วงเวลาทั้งชีวิตที่ฉันมี ฉันขอใช้ไปกับเธอ กับเธอ เธอคนนี้ (**) ฉันขอมอบชีวิตทั้งหมดไว้ ฝากให้กับเธอเพียงผู้เดียว
เนื้อเพลง กันและกัน เพลงประกอบภาพยนตร์ รักแห่งสยาม
เนื้อเพลง : กันและกัน เพลงประกอบ รักแห่งสยาม
ถ้าบอกว่าเพลงนี้ แต่งให้เธอ เธอจะเชื่อไหมมันอาจไม่เพราะ ไม่ซึ้งไม่สวยงามเหมือนเพลงทั่วไปอยากให้รู้ ว่าเพลงรัก ถ้าไม่รัก ก็เขียนไม่ได้แต่กับเธอคนดีรู้ไหม ฉันเขียนอย่างง่าย...ดายเธอคงเคยได้ยินเพลงรักมานับร้อยพันมันอาจจะโดนใจ แต่ก็มีความหมายเหมือนๆกันแต่ถ้าเธอฟังเพลงนี้ เพลงที่เขียนเพื่อเธอเท่านั้นเพื่อเธอเข้าใจความหมายแล้วใจจะได้มีกันและกันมีความจริงอยู่ในความรักตั้งมากมายและที่ผ่านมาฉันใช้เวลาเพื่อหาความหมายแต่ไม่นานก็เพิ่งรู้ เมื่อทุกครั้งที่มีเธอใกล้ว่าถ้าชีวิตคือทำนอง เธอก็เป็นดังคำร้องที่เพราะและซึ้งจับใจให้มันเป็นเพลง บนทางเดินเคียง ที่จะมีเพียงเสียงเธอกับฉันอยู่ด้วยกันตราบนานๆ ดั่งในใจความบอกในกวีว่าตราบใดที่มีรักย่อมมีหวังคือทุกครั้งที่รักของเธอส่องใจ ฉันมีปลายทางมีทางเดินให้เราเดินเคียง และมีเสียงของเธอกับฉันมีทางเดินให้เราเดินร่วมเคียง และมีเสียงของเธอกับฉัน
ถ้าบอกว่าเพลงนี้ แต่งให้เธอ เธอจะเชื่อไหมมันอาจไม่เพราะ ไม่ซึ้งไม่สวยงามเหมือนเพลงทั่วไปอยากให้รู้ ว่าเพลงรัก ถ้าไม่รัก ก็เขียนไม่ได้แต่กับเธอคนดีรู้ไหม ฉันเขียนอย่างง่าย...ดายเธอคงเคยได้ยินเพลงรักมานับร้อยพันมันอาจจะโดนใจ แต่ก็มีความหมายเหมือนๆกันแต่ถ้าเธอฟังเพลงนี้ เพลงที่เขียนเพื่อเธอเท่านั้นเพื่อเธอเข้าใจความหมายแล้วใจจะได้มีกันและกันมีความจริงอยู่ในความรักตั้งมากมายและที่ผ่านมาฉันใช้เวลาเพื่อหาความหมายแต่ไม่นานก็เพิ่งรู้ เมื่อทุกครั้งที่มีเธอใกล้ว่าถ้าชีวิตคือทำนอง เธอก็เป็นดังคำร้องที่เพราะและซึ้งจับใจให้มันเป็นเพลง บนทางเดินเคียง ที่จะมีเพียงเสียงเธอกับฉันอยู่ด้วยกันตราบนานๆ ดั่งในใจความบอกในกวีว่าตราบใดที่มีรักย่อมมีหวังคือทุกครั้งที่รักของเธอส่องใจ ฉันมีปลายทางมีทางเดินให้เราเดินเคียง และมีเสียงของเธอกับฉันมีทางเดินให้เราเดินร่วมเคียง และมีเสียงของเธอกับฉัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)